0

Shopping cart

0 items - ฿0.00

ตั้งค่าตามลำดับมากไปน้อย

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Transient และ Surge
Transient (แรงดันสูงชั่วขณะ) และ Surge (ไฟเกิน) เป็นสภาวะที่แรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าสูงขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งเกิดขึ้นในวงจรไฟฟ้า โดยมีค่าแรงดันไฟฟ้าสูงกว่า 2,000 โวลต์และกระแสไฟฟ้าสูงกว่า 100 แอมแปร์ เกิดขึ้นในระยะเวลาประมาณ 1-10 ไมโครวินาที Transient และ Surge จัดว่าเป็นปัญหาทางไฟฟ้าที่มักเกิดขึ้นอยู่เสมอ และผลกระทบจากปัญหาทางไฟฟ้าเหล่านี้สร้างความเสียหายได้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ชำรุดเสียหาย, ระบบหยุดทำงาน, ทำให้สูญเสียข้อมูล, เวลา ตลอดจนโอกาสทางธุรกิจ เป็นต้น

สาเหตุของการเกิด Transient และ Surge
 มีได้หลายสาเหตุ เช่น

  • ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฝนตกฟ้าคะนอง, พายุ, ฟ้าผ่า และแผ่นดินไหว ฯลฯ
  • เกิดความผิดปกติของระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้า
  • การเปิด-ปิดสวิตช์อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก
  • ความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่มากเกิน
  • สัญญาณรบกวนทางไฟฟ้า
    ฯลฯ

ความหมายของ Surge Protector
ไม่ว่าจะเป็นคำว่า Surge Protection Device (SPD), Surge Suppression Equipment (SSE) หรือ Transient Voltage Surge Suppressor (TVSS) จะหมายถึงอุปกรณ์ชนิดเดียวกันคือ Surge Protector หรือ "อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ" 
อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาสั้นๆ ได้ ซึ่งพลังงานที่สูงมากเช่นนี้สามารถสร้างความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ และเครื่องมือ-เครื่องใช้ในการควบคุมการประมวลผล ฯลฯ

อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ มีหน้าที่หลักอยู่ 2 ประการ คือ

  1. สร้างบริเวณหนึ่งให้มีความต้านทานต่ำ เพื่อให้แรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้นกลับอยู่ในสภาวะปกติ ได้แก่ สายดิน
  2. ทำการเหนี่ยวนำแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่สูงเกินไปยังบริเวณที่สร้างขึ้น (สายดิน) เพื่อป้องกันความเสียหายที่สามารถเกิดขึ้นได้

ชนิดของ Surge Protector
อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลักๆ ดังนี้

  1. Filter เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะที่มีลักษณะเป็นตัวกีดขวาง คอยสกัดกั้นพลังงานไฟฟ้าที่มีความถี่สูง (มักจะเป็นสัญญาณรบกวน) ในขณะเดียวกันก็จะปล่อยให้พลังงานไฟฟ้าที่มีความถี่ต่ำไหลผ่านได้โดยสะดวก
  2. Transients Diverters เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะที่มีการสร้างแนวซึ่งมีความต้านทานต่ำสำหรับให้แรงดันไฟฟ้าที่สูงขึ้นชั่วขณะไหลไปตามแนวนั้นลงสู่สายดิน

หลักการทำงานทั่วไปของ Surge Protector
อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ ได้รับการออกแบบให้สามารถเหนี่ยวนำแรงดันไฟฟ้าที่สูงขึ้นในช่วงเวลาอันสั้นออกจากอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยสร้างแนวที่มีความต้านทานต่ำเชื่อมต่อไปสู่ตำแหน่งของสายดิน เพื่อให้แรงดันที่สูงขึ้นชั่วขณะไหลไปตามแนวความต้านทานต่ำไปยังสายดิน

ส่วนประกอบของ Surge Protector
การใช้อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะสำหรับแต่ละลักษณะการใช้งาน จะมีความแตกต่างกัน ดังนั้น ชิ้นส่วนที่ประกอบอยู่ภายในอุปกรณ์ก็จะแตกต่างกันด้วย แต่มีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกัน คือ เพื่อป้องกันแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพ, เชื่อถือได้ และตอบสนองต่อพลังงานสูงได้อย่างรวดเร็ว ส่วนมากชิ้นส่วนที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์ฯ ที่พบ จะต้องมีหน้าที่ทำให้เกิดความต้านทานต่ำ เช่น MOV (Metal Oxide Varistor), Gas Discharge Tube (GDT) และ Silicon Avalanche Diode (SAD) ฯลฯ หรือรวมเอาชิ้นส่วนของอุปกรณ์เหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน

ชิ้นส่วนที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์แต่ละชนิด มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  • MOV (Metal Oxide Varistor) จะมีการตอบสนองต่อแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้นในช่วงเวลาสั้นได้เร็ว (ประมาณ 20 นาโนวินาที) แต่ถ้ารับกระแสไฟฟ้าสูง (100 A) เข้ามา จะทำให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์ลดลง ภายใต้สภาวะปกติ MOV จะมีความต้านทานสูง แต่เมื่อมีการรับแรงดันไฟฟ้าสูงเข้ามา ความต้านทานของ MOV จะลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างแนวที่มีความต้านทานต่ำสำหรับให้แรงดันไฟฟ้าสูงไหลไปสู่สายดิน นอกจากนี้ MOV ยังมีความสามารถในการควบคุมแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าอีกด้วย
  • Gas Discharge Tube (GDT) มีความสามารถในการควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่สูงมาก (20 kV) และกระแสไฟฟ้าที่สูงมาก (2500 A) แต่มีการตอบสนองต่อแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้นในช่วงเวลาสั้นได้ช้า
  • Silicon Avalanche Diode (SAD) จะมีการตอบสนองต่อแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้นในช่วงเวลาสั้นได้เร็วมาก (ประมาณ 5 นาโนวินาที) และสามารถควบคุมกระแสไฟฟ้าในปริมาณมาก (1000 A) แต่มีความไวต่ออัตราการเพิ่มขึ้นของแรงดันไฟฟ้า (dv/dt) และสภาวะเกิดข้อผิดพลาดเมื่อแรงดันไฟฟ้าสูงสุด (Peak Voltage Failure Modes)
  • นอกเหนือไปจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็ได้มีการรวมเอาชิ้นส่วนของอุปกรณ์อื่นๆ เข้าไว้ด้วยกันในอุปกรณ์ป้องกันแรงดันสูงชั่วขณะ เช่น ตัวต้านทาน และตัวเก็บประจุ ฯลฯ

ประโยชน์ของ Surge Protector
อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ ช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ได้ เช่น

  • ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า
  • ปัญหาที่เกิดจากระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าจากการไฟฟ้า
  • อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีการเหนี่ยวนำไฟฟ้า
  • สัญญาณรบกวนทางไฟฟ้า

การติดตั้ง Surge Protector
อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ สามารถนำไปติดตั้งในจุดต่างๆ ได้ตามลักษณะการใช้งาน โดยจัดแบ่งออกเป็น 3 ลำดับชั้น (Category) ดังนี้ 

  • Category A ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะใกล้กับชิ้นส่วนของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความไว ต่อคุณภาพไฟฟ้าที่ต้องการป้องกัน เพื่อป้องกันชิ้นส่วนนั้นๆ โดยเฉพาะ เช่น คอมพิวเตอร์, เครื่องชั่ง, เครื่องวัด, อุปกรณ์ควบคุมการประมวลผล และแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า DC ฯลฯ
  • Category B ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะที่แผงวงจรควบคุมการจ่าย(Distribution panel board) และแผงสวิตช์ไฟฟ้า (Switchboard) การติดตั้งอุปกรณ์ฯ ที่จุดนี้จะช่วยป้องกันแรงดันไฟฟ้าสูงชั่วขณะจากภายนอก รวมถึงแรงดันไฟฟ้าที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาวะตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความไวต่อคุณภาพไฟฟ้าหรือรับพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายจากสถานีไฟฟ้าย่อย
  • Category C ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะที่หน่วยจ่ายพลังงานไฟฟ้าขาเข้า เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่เกิดจากความผิดปกติของพลังงานไฟฟ้า การติดตั้งอุปกรณ์ฯ ที่จุดนี้จะช่วยป้องกันกรณีเกิดฟ้าผ่าซึ่งเข้ามาภายในอาคารโดยผ่านทางสายไฟ

การนำไปใช้งาน
อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ เหมาะสำหรับนำไปใช้ในทุกงานที่ใช้พลังงานไฟฟ้า (ทั้งที่เชื่อมต่อกับสายส่งหรือผลิตพลังงานไฟฟ้าใช้เองเฉพาะสถานที่นั้นๆ), สายโทรศัพท์ (เช่น โมเด็ม, แฟกซ์ และข้อมูล ฯลฯ), สายข้อมูลคอมพิวเตอร์และสายการสื่อสาร เป็นต้น การใช้งานเหล่านี้ล้วนต้องการอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะที่มีประสิทธิภาพและมีความเชื่อถือได้ทั้งสิ้น เช่น

  • ระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ เช่น เครื่องพิมพ์, จอ, ลำโพง และโมเด็ม ฯลฯ
  • PABX และอุปกรณ์สื่อสาร ฯลฯ
  • เครื่องมือแพทย์, เครื่องมือและอุปกรณ์ภายในห้องผ่าตัด และอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ฯลฯ
  • เครื่องชั่ง, เครื่องวัดและเครื่องมือทดสอบ ฯลฯ
  • อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด
  • ระบบรักษาความปลอดภัย

Electrostatic discharge (ESD) is the sudden and momentary electric current that flows between two objects at different electrical potentialscaused by direct contact or induced by an electrostatic field.[1] The term is usually used in the electronics and other industries to describe momentary unwanted currents that may cause damage to electronic equipment.

ESD is a serious issue in solid state electronics, such as integrated circuits. Integrated circuits are made from semiconductor materials such as siliconand insulating materials such as silicon dioxide. Either of these materials can suffer permanent damage when subjected to high voltages; as a result there are now a number of antistatic devices that help prevent static build up.

Causes of ESD

One of the causes of ESD events is static electricity. Static electricity is often generated through tribocharging, the separation of electric charges that occurs when two materials are brought into contact and then separated. Examples of tribocharging include walking on a rug, rubbing plastic comb against dry hair, ascending from a fabric car seat, or removing some types of plastic packaging. In all these cases, the frictionbetween two materials results in tribocharging, thus creating a difference of electrical potential that can lead to an ESD event.

Another cause of ESD damage is through electrostatic induction. This occurs when an electrically charged object is placed near a conductive object isolated from ground. The presence of the charged object creates an electrostatic field that causes electrical charges on the surface of the other object to redistribute. Even though the net electrostatic charge of the object has not changed, it now has regions of excess positive and negative charges. An ESD event may occur when the object comes into contact with a conductive path. For example, charged regions on the surfaces of styrofoam cups or plastic bags can induce potential on nearby ESD sensitive components via electrostatic induction and an ESD event may occur if the component is touched with a metallic tool.

Types of ESD

The most spectacular form of ESD is the spark, which occurs when a strong electric field creates an ionized conductive channel in air. This can cause minor discomfort to people, severe damage to electronic equipment, and fires and explosions if the air contains combustible gases or particles.

However, many ESD events occur without a visible or audible spark. A person carrying a relatively small electric charge may not feel a discharge that is sufficient to damage sensitive electronic components. Some devices may be damaged by discharges as small as 10 V. These invisible forms of ESD can cause device outright failures, or less obvious forms of degradation that may affect the long term reliability and performance of electronic devices. The degradation in some devices may not become evident until well into their service life.

Pure sine wave คือ สัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับที่มีลูกคลื่นสัญญาณต่อเนื่อง ซึ่งได้จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ (Generator) หรือ ไดนาโม สัญญาณไฟฟ้าดังลูกคลื่นสีแดงตามรูป เป็นสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับที่ใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ทุกประเภท


Modified sine wave คือ สัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับทีถูกสร้างขึ้นมาโดยขบวนการทางดิจิตอลเพื่อลดความสูญเสียในรูปของความร้อนที่เกิดในอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ และเพื่อลดวงจรให้มีขนาดเล็กลง โดยสัญญาณที่ได้จะมีแรงดันและความถี่เท่ากันกับสัญญาณ Pure sine wave ดังรูปลูกคลื่นสีฟ้าแต่รูปคลื่นไม่มีความต่อเนื่อง ดังนั้นสัญญาณ Modified sine waveจะใช้ได้ดีกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีระบบแปลงไฟเป็นไฟกระแสตรง เช่น ทีวี วิทยุ เครื่องเล่นวีดิโอ และ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น แต่จะใช้ไม่ได้กับมอเตอร์ไฟฟ้า ประเภท อินดักชั่นมอเตอร์ เช่น พัดลม ปั๊มน้ำ เป็นต้น 

ดังนั้น จึงมีเครื่องแปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้าสลับ (Inverter) อยู่สองแบบเพื่อพิจารณาในการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานที่จะใช้

อันตรายจากรังสีและการป้องกัน

รังสีมีอันตรายอย่างไร และปริมาณรังสีมากเท่าไหร่ที่ทำให้เกิดอันตราย เนื่องจากรังสีเป็นพลังงานในรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นเมื่อกระทบต่อวัสดุต่างๆ และต่อสิ่งที่มีชีวิตก็ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบขึ้นได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ ชนิดของรังสี พลังงานรังสีปริมาณรังสีและชนิดของอวัยวะที่รังสีตกกระทบ รังสีประเภทก่อไอออน (ionizing radiation) นั้น มีผลต่อสิ่งมีชีวิตโดยทำให้อะตอม/โมเลกุลภายในเซลล์ และระบบการทำงานของเซลล์เปลี่ยนแปลงไป และเกิดอาการผิดปกติในร่างกายขึ้นได้ ได้มีการศึกษาผลกระทบจากรังสีจากกรณีที่มีการทิ้งระเบิดปรมาณู เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 และจากกรณีการปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับพลังงานนิวเคลียร์ รังสี และวัสดุกัมมันตรังสี ตลอดช่วงเวลา 100 ปี ที่ผ่านมา ได้สรุปผลค่าความเสี่ยงและอันตรายของรังสีต่อมนุษย์ได้ดังนี้ การได้รับปริมาณรังสี 10,000 มิลลิซีเวิร์ตในระยะเวลาสั้นๆ ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยและถึงตายได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ การได้รับปริมาณรังสี 1,000 มิลลิซีเวิร์ตในระยะเวลาสั้นๆ ก่อให้เกิดการเจ็บป่วย เช่นอาเจียน แต่ไม่ถึงตายและอนาคตอาจเกิดมะเร็งได้ ปริมาณรังสี 20 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี เป็นเกณฑ์ปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานทางรังสี ปริมาณรังสี 13 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี เป็นเกณฑ์ที่อนุญาตให้ทำงานได้สำหรับคนงาน ในเหมืองแร่ยูเรเนียม ปริมาณรังสี 2 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี เป็นระดับรังสีปกติในธรรมชาติ ปริมาณรังสี 0.05 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี เป็นเกณฑ์กำหนดระดับรังสี ณ รั้วรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขณะเดินเครื่องปฏิกรณ์ฯ รังสีในธรรมชาติเกิดจากอะไร และมีปริมาณเท่าไร ตามปกติมนุษย์ได้รับรังสีจากแหล่งต่างๆ ดังนี้ จากธรรมชาติ รังสีคอสมิก 0.39 มิลลิซีเวิร์ต ต่อปี พื้นดิน (ยูเรเนียม/ทอเรียม/โพแทสเซียม) 0.46 มิลลิซีเวิร์ต ต่อปี ก๊าซเรดอน 1.30 มิลลิซีเวิร์ต ต่อปี อาหารและเครื่องดื่ม 0.23 มิลลิซีเวิร์ต ต่อปี จากต้นกำเนิดรังสีที่มนุษย์สร้างขึ้น รังสีที่ใช้ในทางการแพทย์ 0.30 มิลลิซีเวิร์ต ต่อปีรังสีจากฝุ่นกัมมันตรังสี 0.006 มิลลิซีเวิร์ต ต่อปี รังสีจากการเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 0.008 มิลลิซีเวิร์ต ต่อปี รังสีจากสินค้าอุปโภค 0.0005 มิลลิซีเวิร์ต ต่อปี รังสีจากกรณีอื่นๆ 0.001 มิลลิซีเวิร์ต ต่อปี ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า มนุษย์จะหลีกเลี่ยงการถูกรังสีที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติไม่ได้ ร่างกายของมนุษย์มีไอโซโทปรังสีปนอยู่ด้วยหรือไม่มากน้อยเพียงใด ในร่างกายมนุษย์เรานั้นมีไอโซโทปรังสีปนอยู่ด้วยหลายชนิด เช่น ไอโซโทปรังสี % ในร่างกายโดยน้ำหนัก โพแทสเซียม - 40 0.2 รูบิเดียม - 87 0.0017 เรเดียม - 226 1.4 x 10-13 แลนทานัม - 138 น้อยกว่า 7 x 10-5 วาเนเดียม - 50 น้อยกว่า 1.4 x 10-7 ยูเรเนียม - 238 3 x 10-8 ผู้ที่ทำงานทางรังสีจะทราบได้อย่างไรว่าตนได้รับรังสีมากหรือน้อย วิธีที่จะทราบคือ ใช้เครื่องวัดรังสีประจำตัวบุคคล ซึ่งมีด้วยกัน มากมายหลายแบบ ที่น่ากล่าวถึง ได้แก่ 1. ฟิล์มแบดจ์ (film badge)เป็นกลักสี่เหลี่ยมเล็กๆ ภายในบรรจุฟิล์มซึ่งไวต่อรังสี ความดำ-ขาวของฟิล์มภายหลังจากนำไปล้างมาแล้ว จะบอกให้ทราบถึงปริมาณรังสีที่ได้รับว่ามีมากน้อยเท่าใด เครื่องวัดชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้วัดปริมาณรังสีเป็นระยะเวลานาน เช่น 1 – 3 เดือน จึงนำฟิล์มมาล้างตรวจดูครั้งหนึ่ง 2. เครื่องวัดปริมาณรังสีชนิดอ่านค่าได้ทันที (direct reading dosimeter) 2.1 เครื่องวัดโดสชนิดเสียบกระเป๋า มีลักษณะคล้ายปากกา เมื่อตั้งเครื่องถูกต้องแล้ว สามารถอ่านค่า ปริมาณรังสีจากเข็มชี้บนสเกลโดยตรง บางแบบอาจมี เครื่องอ่านแยกต่างหาก ชนิดนี้ เหมาะสำหรับใช้วัดรังสีระหว่างการทำงาน 2.2 เครื่องวัดโดสชนิดให้สัญญาณเตือน เป็นเครื่องวัดโดสที่พัฒนามาจากเครื่องวัดสำรวจรังสีแบบใช้ก๊าซ แต่มีขนาดเล็กแบบพกพาได้ และสามารถอ่านค่า ความแรงรังสีที่ได้รับเป็นค่าตัวเลขได้ทันที พร้อมกับ ส่งสัญญาณเตือนได้ด้วย 3. เครื่องวัดปริมาณรังสีชนิดเทอร์โมลูมิเนสเซนส์ (Thermoluminescents Dosimeter) เป็นเครื่องวัดปริมาณรังสีที่ทำจากผลึกของสารประกอบพิเศษบางชนิดที่สามารถเก็บเอาพลังงานที่ได้รับจากรังสีไว้ได้ในตัวเอง และจะคายพลังงานรังสีนั้นออกมาในรูปของแสงสว่างได้เมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยความร้อน ซึ่งเมื่ออ่านค่าความเข้มของแสงสว่างที่ผลึกสารดังกล่าวเปล่งออกมาโดยใช้เครื่องมือวัดแสงที่เหมาะสม จะทำให้สามารถทราบถึงสัดส่วนปริมาณของรังสีที่ผู้ใช้อุปกรณ์นั้นได้รับ สารประกอบที่ใช้เป็นเทอรโมลูมิเนสเซนส์มีหลายชนิด อาทิ ลิเทียมฟลูออไรด์ แคลเซียมฟลูออไรด์ และแคลเซียมซัลเฟต เป็นต้น การป้องกันอันตรายจากรังสี ทำอย่างไร การทำงานเกี่ยวข้องกับรังสีและสารกัมมันตรังสี มีหลักการเพื่อป้องกันอันตรายจากรังสีที่ต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด ประกอบด้วย 
        1. การปฏิบัติงานทางรังสีจะต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และการปฏิบัติงานนั้นต้องก่อให้เกิดประโยชน์ที่แจ้งชัด ทั้งต่อผู้ปฏิบัติและต่อสาธารณชน 
        2. การปฏิบัติงานทางรังสีทุกประเภท ต้องยึดหลัก "ให้ผู้ปฏิบัติ และสาธารณชนได้รับรังสีน้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถ กระทำได้ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและสังคมด้วย" 
        3. ไม่ว่าด้วยกรณีใดๆ ผู้ปฏิบัติงาน สาธารณชนแต่ละคนจะต้องไม่รับรังสีสูงกว่าเกณฑ์ระดับความปลอดภัยทางรังสี ที่กำหนดไว้ กล่าวคือ 
อวัยวะที่ได้รับรังสี ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี ประชาชนทั่วไป ทั่วร่างกาย 20 มิลลิซีเวิร์ต ต่อปี 1 มิลลิซีเวิร์ต ต่อปี เลนส์ตา 150 มิลลิซีเวิร์ต ต่อปี 15 มิลลิซีเวิร์ต ต่อปี ผิวหนัง 500 มิลลิซีเวิร์ต ต่อปี 50 มิลลิซีเวิร์ต ต่อปี มือ เท้า 500 มิลลิซีเวิร์ต ต่อปี 50 มิลลิซีเวิร์ต ต่อปี อนึ่ง การดำเนินการเพื่อลดระดับรังสีสำหรับผู้ปฏิบัติงานทางรังสีนั้น อาศัยกลยุทธ์ดังต่อไปนี้ 
        1. เวลา (time) ใช้เวลาปฏิบัติงานให้สั้นที่สุด ปริมาณรังสีที่ผู้ได้รับนั้นขึ้นกับเวลา เช่น ถ้าผู้ปฏิบัติงานอยู่ในห้องที่มีรังสี 2 ชั่วโมง ย่อมได้รับรังสีสูงเป็น 2 เท่า ของผู้ที่เข้าไปอยู่เพียง 1 ชั่วโมง เป็นต้น ดังนั้นวิธีป้องกันประการแรกคือ อย่าเข้าใกล้สารกัมมันตรังสีหรือบริเวณที่มีรังสีเป็นเวลานานๆ แต่ถ้าจำเป็นต้องเข้าไปทำงานควรใช้เวลาสั้นที่สุด 
        2. ระยะทาง (distance) รักษาระยะทางให้ห่างจากต้นกำเนิดรังสีให้มากที่สุด การอยู่ห่างก็เท่ากับอาศัยอากาศเป็นกำแพงกำบังรังสี เช่น รังสีแอลฟาจะถูกกั้นจนหมดไปด้วยอากาศหนาเพียงไม่กี่เซนติเมตร ถือเป็นกฏได้ว่า ความเข้มรังสีจะแปรผกผันกับระยะห่างยกกำลังสอง หรือเขียนเป็นสมการคณิตศาสตร์ได้ว่า I1d21 = I2d22 เมื่อ I = ความเข้มรังสี d = ระยะห่าง หรือกล่าวง่ายๆ ได้ว่าถ้าระยะห่างเพิ่มขึ้นเท่าหนึ่ง ปริมาณความเข้มรังสีจะลดลงเหลือหนึ่งในสี่จากปริมาณเดิม 
        3. เครื่องกำบังรังสี (shielding) จัดให้มีเครื่องกำบังรังสีให้เหมาะสม รังสีมีหลายชนิดจึงจำเป็นต้องเลือกเครื่องกำบังรังสีให้เหมาะสม เช่น ถ้าจะกั้นรังสีบีตาควรใช้แผ่นไม้พลาสติกอะลูมิเนียม ถ้าจะกั้นรังสีแกมมา รังสีเอกซ์ ควรใช้คอนกรีต ตะกั่ว แต่ถ้าจะกำบังอนุภาคนิวตรอนควรใช้น้ำและพาราฟิน เป็นต้น 
กลยุทธ์ทั้ง 3 อย่างนี้ เป็นหัวใจของการป้องกันรังสี ผู้ที่เข้าใจ และปฏิบัติถูกต้องย่อมปลอดภัย แม้จะถูกรังสีบ้างก็ไม่ถึงขั้นที่จะเป็นอันตรายใดๆ เลย อาจใช้คาถา 3 ย หรือ 3 ห ตามข้อความข้างล่างนี้ก็ได้ สามยอ 1. อย่าปนเปื้อน - อย่าเข้าใกล้ให้ชิดติดรังสี 2. อย่าป้วนเปี้ยน - อย่าคลุกคลีมั่วงานอยู่นานหลาย 3. อย่าเปลือยเปล่า - เสื้อหรือชุดคลุมกันรังสี ถุงมือตะกั่วกั้นรังสีป้องกันกาย อันตรายน้อยใหญ่จะไม่มี (บทประพันธ์ : สังเวียน วงศ์มังกร) สามหอ 1. หนึ่งจัดแจงระยะทาง ห่างไว้หนา ( ห้ามเคล้าเคลีย ) 2. สองทำงานต้องกำหนดลดเวลา ( ห้ามคลุกคลี ) 3. สามจัดหาเครื่องกำบังรังสีไว้ ( หาเครื่องคลุม )

บทความเรื่องพลังงานนิวเคลียร์   สำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์  กระทรวงพลังงาน

ตั้งค่าตามลำดับมากไปน้อย
close
คลิกแอด LINE คุยกันนะคะ
LINE ID : @truetronix